ROYROIYIM
ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง

ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง

26

มี.ค.
2567
อ่าน 195 ครั้ง

ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง จำนวนมากมักประสบปัญหาต่าง ๆ คนกลุ่มนี้มีความต้องการต่างจากคนกลุ่มอื่นอย่างไร หากคนกลุ่มนี้ปวดฟัน และทุกคนคงพอจินตนาการออกว่า ปวดฟันนั้นทรมานแค่ไหน ยิ่งหากปวดฟันแล้วเข้าไม่ถึงการรักษา ความทรมานก็คงยิ่งทวีคูณ คนกลุ่มนี้อยู่แต่บ้าน ไม่เคยเจอหมอฟันผู้ใหญ่ที่มีอายุประมาณ 55 ปีขึ้นไป มีฟันจริงในปากเพียงส่วนเดียวเท่านั้น และปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาสุขภาพเหงือก จะพบได้ทั่วไปในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุของการสูญเสียฟัน นอกจากนี้ หากมีสุขภาพในช่องปากไม่ดีก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ ด้วย โรคหัวใจ เบาหวาน เป็นต้นผู้สูงอายุ จัดเป็นกลุ่มเปราะบางอีกกลุ่ม ที่อาจจะมีปัญหาในการเข้าถึงทันตกรรมที่ใกล้เคียงกับผู้พิการ ส่วนใหญ่มีข้อจำกัดในการไปทำฟัน หรือพบทันตแพทย์ ตรวจรักษาฟัน เพราะไม่สามารถที่จะพาตัวเองไปคลีนิกทันตกรรม

กลุ่มประเภทคนพิการ กับปัญหาสุขภาพในช่องปากและฟัน

คนพิการทางการเห็น ได้แก่ ตาบอด หรือ ตาเห็นเลือนราง : ปัญหาในช่องปากที่พบได้บ่อยคือ ฟันผุ เหงือกอักเสบ แผลในปาก เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น ทำให้มีความกังวลในเสียงที่เกิดขึ้นขณะรับการรักษาทางทันตกรรม จึงต้องการคำอธิบายในแต่ละขั้นตอนการรักษาฟันอย่างละเอียด

คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ได้แก่ หูหนวก หูตึง ความพิการทางการสื่อความหมาย : ปัญหาในช่องปากที่พบได้บ่อยคือ ฟันผุ เหงือกอักเสบ แผลในปาก เนื่องจาก ความบกพร่องทางการได้ยิน ทำให้มีความจำกัดในการสื่อสารกับทันตบุคลากร ในกรณีคนพิการทางการได้ยินที่เข้าใจภาษามือ ควรนัดล่ามภาษามือมาช่วยในการสื่อสาร แต่ในกรณีที่ไม่เข้าใจภาษามือ สามารถใช้ภาษาใจ ภาษากาย ภาษาภาพ ภาษาเขียน หรือสื่อสารผ่านผู้ดูแล เพื่ออธิบายขั้นตอนการรักษาฟันอย่างละเอียด

คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย: ปัญหาในช่องปากที่พบได้บ่อยคือ ฟันผุ เหงือกอักเสบ แผลในปาก ความจำกัดในการดูแลสุขภาพช่องปาก พบว่าเนื่องจาก ความไม่สะดวกในการใช้มือ และบางคนมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้การแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟัน เป็นไปด้วยความยากลำบาก คนพิการที่นั่ง รถเข็น Wheelchair จะมีความกังวลในการรับการรักษาทางทันตกรรม และมีความรู้สึกไม่มั่นคงในการนั่งบนเก้าอี้ทันตกรรม ทั้งนี้คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย มีความหลายหลายในระดับความพิการ ลักษณะความพิการ ทันตบุคลากรควรตระหนัก และให้เวลาในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ ตามความจำกัดเฉพาะรายบุคคล

คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม : หมายถึงบุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจ หรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์ หรือความคิด ปัญหาในช่องปากที่พบได้บ่อยคือ ฟันผุ เหงือกอักเสบ แผลในปาก ฟันสึก ปากแห้ง น้ำลายน้อย การดูแลสุขภาพช่องปาก ขึ้นอยู่กับการควบคุมความผิดปกติทางจิตใจ ด้วยการรับประทานยาควบคุมอาการทางจิต พบจิตแพทย์ตามนัด คนพิการทางจิตบางคนไม่รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ละเลยการดูแลสุขภาพช่องปากในชีวิตประจำวัน และ มีปัญหาเรื้อรังในช่องปาก

คนพิการทางสติปัญญา หมายถึงบุคคลที่มีพัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าบุคคลทั่วไป โดยความปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 18 ปี : คนพิการทางการเรียนรู้ หมายถึงบุคคลที่มีความบกพร่องทางสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องในการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ หรือกระบวนการเรียนรู้พื้นฐานอื่น ในระดับความสามารถที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงอายุและระดับสติปัญญา
คนพิการทางออทิสติก หมายถึง บุคคลที่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางพัฒนาการทางสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมองและความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุสองปีครึ่ง
ปัญหาในช่องปากของคนพิการทางสติปัญญา คนพิการทางการเรียนรู้ และคนพิการทางออทิสติก ที่พบได้บ่อยคือ ฟันผุ เหงือกอักเสบ แผลในปาก ฟันมีรูปร่างผิดปกติ ปากแห้ง น้ำลายน้อย
การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กพิการทางสติปัญญา การเรียนรู้ และ ออทิสติก ผู้ปกครองควรได้รับการให้ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ตั้งแต่เด็กเป็นทารกแรกเกิด โดยนัดพบทันตบุคลากรเพื่อดูแลรักษาฟันเด็กอย่างต่อเนื่อง
คนพิการทางสติปัญญา การเรียนรู้ และ ออทิสติก มีความหลายหลายในระดับความพิการ ลักษณะความพิการ ทันตบุคลากรควรตระหนักและให้เวลาในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากคนพิการ ตามความจำกัดเฉพาะรายบุคคล

ความต่างระหว่างคนพิการ คนทั่วไป หรือคนสูงอายุในการทำฟัน

ต่างทั้งเรื่องโรคประจำตัวที่มีผลต่อการใช้ยา ยาชา การปรับเก้าอี้เร็วช้า การสื่อสาร สำคัญสุดคือเรื่องการกลับไปดูแลตัวเองที่บ้าน เขากลับไปแปรงฟันอย่างไร นอกจากนี้ก็มีเรื่องการออกแบบคลีนิกให้เข้าถึงได้และข้อจำกัดต่างๆ ของพื้นที่ เช่น เก้าอี้ต้องมีที่วางแขน เบาะต้องไม่เตี้ยเกินไป วีลแชร์ต้องเข้าได้หรือความลาดเอียงของทางลาด มีลิฟท์ยกขึ้นลงรถทันตกรรมเคลื่อนที่ ได้สะดวก ซึ่งรถทันตกรรมเคลื่อนที่ SMILE EXPRESS ได้ออกแบบให้มีลิฟท์ เพื่ออำนวยความสะดวกนี้

มากไปกว่านั้นในมาตรฐานสากลคือพนักงานต้องฝึกภาษามือ (Visual hearing) แต่ของไทยไม่ถึงขนาดนั้น ยังดูแค่การเข้าถึงโดยวีลแชร์เป็นหลัก อย่างถึงเรามีทางเดินเข้าคลินิกให้คนที่พิการทางสายตา แต่เอาจริงๆถ้าคนไข้ที่มีความพิการทางสายตา ก็ยังมาที่คลีนิกไม่ได้อยู่ดีก็ยังมีอะไรต้องทำอีกเยอะ